โควิดลงปอด ต้องทำอย่างไร?

โควิด 19 โรคระบาดที่เริ่มต้นมาจากเมืองอู่ฮั่น ในประเทศจีน โดยต้นตอของโรคระบาดนี้น่าจะมาจากไวรัสจากสัตว์ที่เป็นตัวกลางแล้วนำมาสู่คน และจากคนแพร่สู่คนอีกที่โดยผ่านทางฝอยละอองจากการไอหรือจาม โดยที่คนเราจะได้รับเชื้อจากการหายใจเอาฝอยละอองเข้าไปจากผู้ป่วยหรือจากการที่ได้เอามือไปสัมผัสกับละอองนั้น ๆ แล้วมาจับตามใบหน้า ซึ่งระยะเวลานับจากการติดเชื้อและแสดงอาการนั้นจะมีตั้งแต่ 1 – 14 วัน ซึ่งจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 5 – 6 วัน และผู้ป่วยจะเริ่มแสดงอาการภายใน 14 วัน และหากมีอาการรุนแรงถึงขั้นโควิดลงปอดบอกได้เลยว่าถึงขั้นความเสี่ยงที่จะต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและหากโควิดลงปอด ต้องทำอย่างไร? เรามาหาคำตอบกัน

โควิดลงปอดมีอาการอย่างไร

สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้นอาจมีความสงสัยว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน? อาการหนักหรือไม่? มีภาวะเชื้อไวรัสลงปอดหรือยัง? โดยแพทย์ได้มีวิธีแนะนำในการเช็กอาการโควิดลงปอด ตรวจโควิด ดังนี้

  • สำหรับผู้ติดเชื้อจะมีอาการไข้มากกว่า 5 องศาเซลเซียส
  • ผู้ป่วยที่มีอาการไอ ทั้งไอแห้ง หรือไอแบบมีเสมหะ ถือเป็นสัญญาณสำคัญที่บอกว่าปอดเริ่มอักเสบ
  • จะเริ่มมีอาการหายใจลำบาก รู้สึกเหนื่อย หรือหอบ
  • เหนื่อยง่ายขึ้น การเดินขึ้นลงบันได หรือออกกำลังกายเล็กน้อย จากปกติไม่เหนื่อย ก็อาจจะเหนื่อยได้
  • รู้สึกว่าตัวเองมีอาการหายใจไม่เต็มปอด แน่นหน้าอก
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีเครื่องวัดออกซิเจน บุคคลปกติจะมีค่าออกซิเจนอยู่ที่ประมาณ 97-100% หากใครมีออกซิเจนต่ำอยู่ที่ 94% หรือต่ำกว่านั้น จะเป็นสัญญาณว่าเชื้อโควิดลงปอดแล้ว

โควิดลงปอด ต้องทำอย่างไร?

การปฏิบัติตัวเมื่อเชื้อโควิดลงปอด

และเมื่อทราบว่ามีการเชื้อไวรัสโคโรน่าลงปอดแล้วจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรวันนี้เราได้นำมาเสนอ ดังนี้

ต้องจัดท่านอนให้ผู้ป่วยเพื่อช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น โดยการนอนหงายนั้นในส่วนของปอดนั้น 2 ใน 3 จะอยู่ทางด้านหลัง ทำให้น้ำหนักตัวกับน้ำหนักของหัวใจไปกดบริเวณปอด ทำให้ปอดทำงานได้ไม่เต็มที่ ดังนั้นการจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนคว่ำแล้วกอดหมอนจึงเป็นท่าที่ดีที่สุด เพราะการนอนคว่ำนั้นจะทำให้ปอด 2 ใน 3 ที่อยู่ด้านหลังไม่มีการกดทับ ปอดทำงานได้ดีขึ้น ปริมาณออกซิเจนในร่างกายก็จะสูงขึ้น ซึ่งผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้

  • การจัดท่านอน ให้ผู้ป่วยกอดหมอนไว้ที่หน้าอก แล้วนอนคว่ำ โดยให้หน้าตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยนอนคว่ำไม่ได้แนะนำให้นอนตะแคง กึ่งคว่ำ หรือเฉียงตัวประมาณ 45 องศา
  • สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น แนะนำให้นอนตะแคงด้านซ้ายลง และเฉียงตัวประมาณ 45 องศา เพื่อช่วยให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น
  • ผู้ป่วยต้องขยับขาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด โดยให้ผู้ป่วย งอเข่าเข้าออก หรือเหยียดปลายเท้าแล้วดึงเข้าหาตัว ให้เกิดการเคลื่อนไหวบริเวณกล้ามเนื้อส่วนน่องและส่วนขา ทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ จะช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันนั่นเอง

สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีเชื้อลงปอดแล้วนั้น แต่ยังต้องรอเตียงจากทางโรงพยาบาลอยู่ที่บ้าน จะมีวิธีการเข้าห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยดังนี้

  • หากผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยมาก ๆ ไม่แนะนำให้เข้าห้องน้ำ ซึ่งการเบ่งถ่ายอาจทำให้ผู้ป่วยหมดสติลงได้
  • ควรเตรียมที่สำหรับถ่ายสำหรับผู้ป่วยไว้ข้างเตียง เช่น กระโถน
  • หากผู้ป่วยมีอาการท้องผูก ให้ทานยาระบายอ่อน ๆ ได้

สำหรับการรับประทานอาหารและยาในระหว่างที่รอเตียงจากทางโรงพยาบาลนั้น ผู้ป่วยควรดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ เลือดไม่ข้น หรือหนืด โอกาสที่จะเกิดลิ่มเลือดก็จะลดลง และช่วยให้ไม่รู้สึกเพลีย หรือมีอาการหน้ามืด แต่อย่าทานน้ำมากจนเกินไป เพราะจะทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจาง

  • กรณีที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ควรดื่มน้ำเกลือแร่
  • หากผู้ป่วยมียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ แนะนำให้ทานยาให้ต่อเนื่อง อย่าหยุดยาเอง หากไม่มีความจำเป็นป้องกันการกำเริบของโรคประจำตัวที่มีอยู่
  • หากผู้ป่วยต้องการรับประทานยาเป็นกรณีพิเศษนั้น ควรได้รับคำปรึกษาจากบุคลากรทางการแพทย์ก่อนการปรับหรือหยุดยา ซึ่งจะประกอบไปด้วยยา ดังนี้
  • หากต้องการรับประทานยาขับปัสสาวะในกรณีที่ผู้ป่วยโควิดดื่มน้ำไม่ได้ ควรงดยาในกลุ่มนี้ หรือลดขนาดยาลงครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย
  • หากผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเช่นโรคความดันโลหิตสูงและต้องรับประทานยาลดความดันโลหิตสูง ให้วัดค่าความดันทุกวัน หากต่ำกว่า 90/60 ควรงดยา เพื่อป้องกันอาการช็อก หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน สำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องวัดความดัน หากยังสามารถทานอาหาร ทานน้ำได้ตามปกติ ยังสามารถทานยาความดันได้ตามปกติ แต่หากไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำได้ แนะนำให้งดยาความดันโลหิตสูงก่อน แต่หากทานยาความดันโลหิตสูงอยู่หลายตัวควรงดแค่ 1 ตัว สิ่งสำคัญ ควรปรึกษาแพทย์ที่ให้การรักษาก่อนงดยา
  • สำหรับผู้ป่วยโควิดที่เป็นโรคเบาหวานและต้องรับประทานยาโรคเบาหวาน แนะนำให้วัดค่าน้ำตาลอย่างสม่ำเสมอ หากวัดค่าน้ำตาลได้ต่ำ และไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำได้ ควรงดอินซูลิน
  • หากผู้ป่วยโควิดมีอาการไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่านั้น
  • สำหรับสมุนไพรไทยที่แนะนำให้ผู้ป่วยโควิดรับประทานนั้นคือ ฟ้าทะลายโจร โดยรับประทานในปริมาณที่แพทย์แผนไทยกำหนด