6 ท่า วิธีลดเหนียงหน้าเรียว ให้ผลลัพธ์ดีแค่ไหน มีข้อควรระวัง อย่างไรบ้าง

สาว ๆ ที่มีปัญหา เป็นเรื่องกังวลใจของคนจำนวนมากทั้งหญิงและ นั่นก็คือ คอเหนียง และคาง2ชั้น มีเนื้อเกินหย่อนตรงบริเวณคางถึงคอ ลักษณะเหมือนคอไก่ เกิดจากอายุที่มากขึ้น คอลลาเจนและอีลาสตินใต้ชั้นผิวสูญเสียความตึงตัว ผิวจึงหย่อนลงเรื่อย ๆ ก็กลายเป็นเหนียงคอตามมา ในบางลักษณะเหนียงพับกันก็ดูเป็นคาง 2 ชั้นไปอีก สำหรับกรณีที่คอเป็นเหนียงแล้วในปัจจุบันก็มีหลากหลายวิธีทางการแพทย์สามารถแก้ไขปัญหาเหนียงคอได้ง่าย ๆ เพื่อให้สาว ๆ ได้หมดความกังวล มีวิธีลดเหนียงหน้าเรียว อย่างมากมาย สามารถตอบโจทย์ให้กับสาว ๆ ได้เป็นอย่างดี

เหนียงเกิดขึ้นได้อย่างไร

โดยส่วนใหญ่แล้ว เหนียงมักเกิดจากการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น และมีไขมันไปสะสมตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คางสองชั้นอาจไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนอ้วนเพียงอย่างเดียว เนื่องจากปัจจัยที่ก่อให้เกิดเหนียงนั้นมีหลายอย่าง อาทิ พันธุกรรม หรือความหย่อนคล้อยของผิวหนัง หรือกล้ามเนื้อบริเวณใต้คาง เป็นต้น นอกจากนี้ คนที่มีคางเล็กกว่าปกติจะสามารถเห็นเหนียงที่หย่อนคล้อยลงมาได้มากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย

วิธีลดเหนียงหน้าเรียว ทำยังไงดี

วิธีลดเหนียงหน้าเรียว

ท่าที่ 1 จูบอากาศ

มาเริ่มกันที่ท่าแรกกับ The Kiss หรือท่าจูบอากาศกันจ้า ชื่ออาจจะดูอีโรติกมาจงมาจูบอะไร แต่บอกเลยว่าท่านี้คือเป็นท่าที่บริหารเหนียงได้ดีมากเลยนะ เริ่มจากการเงยหน้าขึ้นมองเพดานด้านบนแล้วทำปากจู๋เหมือนกำลังพยายามจะจูบเพดานด้านบน เพราะฉะนั้นเวลาทำท่านี้เราจะได้เกร็งส่วนใต้คางและกรอบหน้าไปในตัว นั่งว่าง ๆ ก็ลองบริหารเหนียงด้วยท่านี้ดูนะคะ

ท่าที่ 2 แลบลิ้น

ท่าที่สอง Stick it out หรือท่าแลบลิ้น ใครจะรู้ว่าแค่การแลบลิ้นปกติ ๆ จะสามารถช่วยลดเหนียงน้อย ๆ ของเราได้ด้วย เริ่มง่าย ๆ ด้วยการมองตรงไปด้านหน้าแล้วอ้าปากกว้างให้สุด จากนั้นแลบลิ้นยาว ๆ ของเราออกมา พยายามดันลงไปแตะคางให้ได้ ค้างไว้ประมาณ 5 วินาที ค่อยเก็บลิ้นแล้วปิดปากกลับมาในท่าเริ่มต้น ท่านี้การที่เราพยายามดันลิ้นไปแตะคางจะให้ใต้คางเราเกิดการเกร็ง ได้ออกแรงใช้กล้ามเนื้อส่วนใต้คาง เป็นการบริหารเหนียงไปในตัว

ท่าที่ 3 ดันกราม

มาต่อกันกันท่าที่ 3 Jaw Jut หรือ ท่าดันกรามกันเลยค่ะ ท่านี้จะมีความคล้าย ๆ ท่าแรก แต่จะเป็นการดันกรามขึ้นด้านบนแทนการจูบ ให้เริ่มจากการเงยหน้าขึ้นมองเพดานก่อน แล้วเริ่มดันกรามและคางของเราขึ้นไปด้านหน้าให้รู้สึกตึงและเกร็ง ค้างท่านี้ไว้ประมาณ 10 วินาที การเกร็งส่วนเหนียงให้ตึงสำคัญมาก ให้เราพยายามออกแรงให้มากที่สุดภายใน 10 วินาทีนี้แบบไม่พัก เสร็จแล้วค่อย ๆ คลายกล้ามเนื้อออกแล้วคืนหน้ากลับมาที่ท่าตรงปกติ

ท่าที่ 4 หมุนคอติดอก

ทำต่อกันเลยแบบไม่พักกับท่า Neck Roll หมุนคอติดอก ในชีวิตประจำวันหลาย ๆ คนอาจจะชอบหมุนคอเป็นการคลายเส้นแก้เมื่อยกันเป็นปกติอยู่แล้ว แต่ให้เราเพิ่มการบริหารตามท่านี้ไปอีกสักนิด เริ่มจากการก้มหน้าลงให้คางติดอกแล้วเริ่มหมุนคอไปทางขวาช้า ๆ ค้างไว้ 5 วิ จากนั้นหมุนไปด้านซ้ายต่อแล้วค้างไว้ 5 วิ เหมือนเดิม ระหว่างที่เราก้มหน้าคางติดอกแล้วหมุนคอ บริเวณกรามและเหนียงของเรามันจะเกร็ง ได้ออกแรงกล้ามเนื้อไปแบบอัตโนมัติอยู่แล้ว ทำให้เราได้ออกกำลังกายลดเหนียงไปด้วย

ท่าที่ 5 ดันลิ้นแตะฟัน

ท่าต่อมามีชื่อว่า Tongue on Teeth หรือ การดันลิ้นแตะฟัน เป็นอีกท่าที่ช่วยลดเหนียงได้! ให้เริ่มจากการมองตรงไปด้านหน้าอ้าปากกว้าง ๆ เสร็จแล้วเอาลิ้นดันด้านในของฟันล่างพร้อมกับหายใจเข้าช้า ๆ จากนั้นหายใจออกแล้วออกเสียง ‘อาาาาาา’ ระหว่างที่เราดันฟันล่างและออกเสียงบริเวณกรามและเหนียงของเราจะเกิดการบริหารกล้ามเนื้อค่ะ

ท่าที่ 6 ตบใต้คาง

มากันที่ท่าสุดท้าย Chin Slap กับท่าตบใต้คาง ท่านี้ไม่ได้ต้องเกร็งหรือบริหารหน้าเลย แค่มองตรงไปด้านหน้าแล้วใช้หลังมือตีใต้คางแบบที่ไม่แรงและเบาจนเกินไป ใช้น้ำหนักมือพอดี ๆ ตบต่อเนื่องไปประมาณ 30 วินาทีค่ะ หรือถ้าสาว ๆ คนไหนนั่งดูหนัง ฟังเพลงว่าง ๆ ก็ยกมือขึ้นมาตีใต้คางตัวเองบ่อย ๆ ก็ถือว่าได้ช่วยลดเหนียงไปพลาง ๆ

ข้อควรระวังในการลดเหนียง

การลดเหนียงด้วยวิธีการออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลและปลอดภัยแต่ต้องอาจใช้เวลานาน ในขณะที่การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์นั้นให้ผลที่ค่อนข้างเร็วแต่ก็มีความเสี่ยงที่ควรระวังโดยเฉพาะการรักษาแบบเมโสเทอราพี แม้สารที่ใช้ในการรักษาจะได้รับการรับรองว่าปลอดภัย แต่ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็อาจทำให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาท เป็นสาเหตุของอาการบาดเจ็บในระยะยาวได้ นอกจากนี้ หากเป็นการผ่าตัดยกกระชับผิวหนังบริเวณใต้คาง ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะต้องเข้าใจว่าผลของการผ่าตัดไม่สามารถอยู่ได้ตลอดไป เพราะหากอายุมากขึ้น หรือน้ำหนักตัวมากขึ้นก็อาจทำให้ปัญหาคางสองชั้นกลับมาได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษา ควรปรึกษาแพทย์และสอบถามรายละเอียดให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจรักษา